ประวัติ ความเป็นมา ของ ยามอุบากอง
ยามอุบากอง มีที่มาจาก อุบากอง เป็นนายทหารยศขุนพล ได้คุมกำลังเข้าโจมตี เมืองเชียงใหม่ แต่อุบากองถูกฝ่ายไทยจับกุมตัวได้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จึงสั่งให้สอบสวนอุบากอง ปรากฏว่าอุบากองเป็นคนไทย เกิดในเมืองไทย มีพ่อเชื้อสายพม่า แม่เชื้อสายไทยแถบเมืองธนบุรี พระองค์จึงทรงพระเมตตา พระราชทานเสื้อผ้า และให้นำไปจำขังไว้ที่คุกวัดโพธาราม (วัดพระเชตุพนฯ ในปัจจุบัน)
ระหว่างที่อุบากองกับพวกถูกจองจำ คุมขังที่คุกวัดโพธิ์ ได้สอนตำรายันต์ยามยาตราให้กับพรรคพวก เพื่อใช้แหกคุกที่คุมขังได้ เมื่อพรรคพวกเรียนยามยาตราได้แล้ว พอได้ฤกษ์งามยามดี จึงสามารถพากันแหกคุกวัดโพธิ์ หลบหนีไปได้อย่างปลอดภัย โดยอุบากองกับพรรคพวกพากันหลบหนีไปยังเมืองพม่าได้
บังเอิญมีนักโทษพม่าเชื้อสายไทยบางคน ไม่ได้หลบหนีไปด้วย จึงบอกเล่ากับผู้คุมนักโทษ ต่อมาจึงมีการนำมาเล่าเรียนกัน และให้ชื่อยามยาตรานี้ว่า "ยามอุบากอง" ตามชื่อเจ้าของยามยาตรานั่นเอง อนึ่ง ยามดังกล่าว ปรากฏว่า มีผู้นับถือว่า แม่นยำ ได้ผลจริงๆ ด้วย จึงศึกษาเล่าเรียนสืบๆ กันมาตราบเท่าทุกวันนี้
...
ยามอุบากอง นี้จะใช้ตอน ดูเวลาเดินทาง จะออกรถ พบลูกค้า นำเสนองาน เข้าพบเจ้านาย หรือทำการสำคัญต่าง คือถ้าเลือกเวลาได้ก็จะเลือกตามยามอุบากอง ที่ผ่านมาก็ได้ผลดีน่าพอใจ ขึ้นอยู่กับอยู่ที่การยึดถือปฏิบัติของเราด้วย
เลือกวัน และเวลา ที่ต้องการดูฤกษ์ ดูดวง ยามอุบากอง
ศูนย์หนึ่งอย่าพึ่งจร แม้ราญรอนจะอัปรา
สองศูนย์เร่งยาตรา จะมีลาภสวัสดี
ปลอดศูนย์พูลสวัสดิ์ ภัยพิบัติลาภบ่มี
กากบาทตัวอัปรีย์ แม้จรลีจะอัปรา
สี่ศูนย์จะพูนผล แม้จรดลดีหนักหนา
มีลาภล้นคณนา เร่งยาตราจะมีชัย
ยามอุบากอง เป็นยามดีและ ชั่ว ประจำเวลาในวันหนึ่งๆ ที่นิยมว่าเป็นยามที่เที่ยงตรง มาแต่โบราณกาล บางท่านจึงนับถือยามอุบากอง เป็นยามบอกเวลาออกจากบ้านทุกครั้ง แต่ก็อย่ายึดถือมากไป จนบางครั้งกลับเสียประโยชน์ เพราะมัวแต่ชักช้าดูฤกษ์ดูยามไม่ทันการ