หัวหมู! อาจไม่ใช่สัญลักษณ์แห่งการเซ่นไหว้และแก้บนเสมอไป

หัวหมู เมื่อเอ่ยชื่อนี้ออกมา เชื่อว่าหลายคนคงนึกไปถึงการแก้บน การเซ่นไหว้ในเทศกาลต่างๆ เพราะขนาดแม่หมอเองโตมาจนจำความได้ ก็เห็นหัวหมู กลายเป็นส่วนหนึ่งของการไหว้บูชา จนนึกสงสัยว่าถ้าหากเราไม่ใช้หัวหมูล่ะ จะมีอย่างอื่นที่มาแทนได้หรือไม่ และจะต้องใช้ หัวหมู อย่างไรให้ถูกต้อง ตามพิธีและความเชื่อที่มีอยู่ในปัจจุบัน วันนี้แม่หมอจะมาไขข้อข้องใจหลาย ๆ อย่างให้ได้อ่านกันจ้าาา 🙂

การบนบานคือการตั้งจิตตั้งใจ อธิษฐานขอพรในสิ่งที่ตัวเองมีความต้องการ เพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้ทำสิ่งนั้นสำเร็จ เมื่อหลังจากที่สมหวังดังที่ขอพรไปแล้วนั้น ก็ขึ้นอยู่กับตัวเราแล้วล่ะ ว่าได้ไปบนบานอะไรไว้บ้าง ก็จงหาและทำสิ่งนั้นในทันทีหรือให้เร็วที่สุด

ในประเทศไทย มีการขอพรบนบานกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ได้แทบทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นศาลพระภูมิ เจ้าที่ ศาลเจ้า พระพิฆเนศ พระตรีมูรติ ไม่เว้นแม้แต่หุ่นรูปปั้นของราชินีลูกทุ่ง พุ่มพวง ดวงจันทร์ และอื่นๆอีกมากมาย เรียกได้ว่าหันไปทางไหนถ้าเจอสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่พอให้รู้สึกอุ่นใจ บ้างก็ยกมือไหว้ขอพรกันตามสะดวก

การเลือกใช้ หัวหมู มาเป็นเครื่องเซ่นไหว้นั้น ควรจะศึกษาข้อมูลมาให้ดีก่อนนะคะ เพราะว่ามีเทพหลายองค์ที่ไม่รับเนื้อสัตว์ แต่จะรับเฉพาะดอกไม้ หรือ ผลไม้เท่านั้น ตัวอย่างเช่น การไหว้พระตรีมูรติ จะใช้ดอกกุหลาย และดอกดาวเรือง ในการแก้บนเรื่องความรัก  ส่วนรูปปั้นหรือรูปภาพรัชกาลที่ 5 ก็ใช้ดอกกุหลาบเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีพระศิวะ, ท้าวมหาพรหม , พระพิฆเนศ ที่ไม่รับหัวหมูโดยเด็ดขาด รับเพียงแต่ผลไม้ ดอกไม้และเครื่องหอมต่าง ๆ เท่านั้น

รูปประกอบและเรียบเรียงโดย : Horoscope.Mthai.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Copyright © 2016 MThai.com All rights reserved. หมายเลขทะเบียนการค้าอิเล็กทรอนิกส์ : 0127114707040