ตำราคชศาสตร์ ความเชื่อเรื่อง ช้างเผือก

ตำราคชศาสตร์ ความเชื่อเรื่อง ช้างเผือก

จากกรณีที่เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน พบช้างที่มี คชลักษณ์ เป็นช้างสำคัญหรือ ช้างเผือก จึงทำให้ทาง Horoscope.Mthai.com ได้ไปค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับ ช้างเผือก ว่ามีที่มาอย่างไร มาบอกกันครับ

สำหรับคติความเชื่อเรื่อง ช้างเผือก ที่แพร่มายังราชอาณาจักรไทยนี้ มีต้นกำเนิดมาจากความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ ซึ่งปรากฏหลักฐานในพระเวทหรือไตรเพท ว่าด้วยตำรา คชศาสตร์ ซึ่งในตำรา คชลักษณ์ กล่าวถึงลักษณะต่างๆ ของช้าง ทั้งช้างที่มีลักษณะเป็นมงคลให้คุณ และช้างที่มีลักษณะอัปมงคลให้โทษ

ตำราชคชลักษณ์ได้แบ่งช้างเป็น ๔ ตระกูล หรือพงศ์ ซึ่งถูกแบ่งตามวรรณะเช่นเดียวกับการแบ่งวรรณะของคนอินเดียด้วย คือ
๑. อิศวรพงศ์ เป็นช้างในตระกูลที่พระอิศวรหรือพระศิวะทรงสร้าง จัดเป็นช้างชาติกษัตริย์
๒. พรหมพงศ์ เป็นช้างในตระกูลที่พระพรหมทรงสร้าง จัดเป็นช้างชาติพราหมณ์
๓. วิษณุพงศ์ เป็นช้างในตระกูลที่พระวิษณุหรือพระนารายณ์ทรงสร้าง จัดเป็นช่างชาติแพศย์
๔. อัคนิพงศ์ เป็นช้างในตระกูลที่พระอัคนีหรือพระเพลิงทรงสร้าง จัดเป็นช้างชาติศูทร

ทั้งนี้ ช้างเผือก เป็นช้างที่บังเกิดจากเทวฤทธิ์แห่งพระอัคนี จึงนับอยู่ในอัคนิพงศ์ โดยทั่วไป ช้างสำคัญหรือช้างเผือก จะมีลักษณะมงคล ๗ ประการ คือ
๑. ตาสีขาว
๒. เพดานในปากสีขาว
๓. เล็บสีขาว
๔. ขนสีขาว
๕. ผิวหนังสีขาว หรือสีชมพูแดง คล้ายสีหม้อใหม่
๖. ขนหางยาว
๗. อัณฑโกสสีขาว หรือสีคล้ายหม้อใหม่

ขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือ ช้างต้น สัตว์มงคลแห่งพระจักรพรรดิ
ขอบคุณภาพจาก oknation

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Copyright © 2016 MThai.com All rights reserved. หมายเลขทะเบียนการค้าอิเล็กทรอนิกส์ : 0127114707040