ความเชื่อ หินสลักรูปงู ใต้ต้นไม้

ชาวทมิฬนาดูหรือชาวอินเดียใต้มีความเชื่อเรื่อง หินสลักรูปงู ที่ใต้ต้นไม้ใหญ่ซึ่งเกี่ยวกับการมีบุตรอยู่สองอย่างว่า ความเชื่อแรกเชื่อว่า การที่สามีภรรยาที่แต่งงานกันนานแล้วแต่ยังไม่มีบุตร อาจเกิดจากผลกรรมที่เคยฆ่างูเมื่อชาติก่อนๆ

หินสลักรูปงู ใต้ต้นไม้

เพื่อแก้ไขผลกรรมที่ได้ทำไว้ในอดีตชาติจึงนิยมสร้าง หินสลักรูปงู ลักษณะเป็นรูปแกะสลักเป็นรูปงูสองตัวพันกันบ้าง หรืออาจเป็นรูปครึ่งคนครึ่งงู (ตัวเป็นงูหัวเป็นคน อย่างในภาพยนตร์บอลลีวูดเรื่อง Hisss) นำไปตั้งไว้ใต้ต้นไม้ใหญ่ โดยเฉพาะต้นโพธิ์บริเวณเทวาลัยเพื่อเป็นการไถ่โทษ แล้วจะทำให้มีบุตรได้ตามที่ประสงค์ในชาตินี้

ความเชื่อที่สองเชื่อว่า หินสลักรูปงู นี้เป็นสัญลักษณ์แทนพระขันทกุมาร ซึ่งเป็นโอรสของพระศิวะและนางอุมา ดังนั้นขันทกุมารจึงเปรียบเหมือนโอรสแห่งมหาเทพที่เป็นต้นแบบของครอบครัว ผู้ปรารถนาจะมีบุตรจึงโยงเรื่องนี้เข้ามาเป็นสัญลักษณ์แห่งการมีบุตร ส่วนวิธีการบูชาโอรสของมหาเทพนี้ก็ทำเหมือนความเชื่อแรก

ขอบคุณข้อมูลจาก learningpune.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Copyright © 2016 MThai.com All rights reserved. หมายเลขทะเบียนการค้าอิเล็กทรอนิกส์ : 0127114707040