ช้างเผือก คติความเชื่อ ที่ยังไม่เลือนหาย

คติความเชื่อ ช้างเผือก ของคนไทย ติดตามได้ที่ Horoscope.mthai.com ช้าง เป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองและเกี่ยวข้องกับคนไทยในแต่ละยุคแต่ละสมัยมาอย่าง ยาวนาน ไม่ว่าจะในด้านการดำรงชิวิตที่ใช้ช้างเป็นแรงงานในการเกษตรกรรม ใช้เป็นพาหนะ หรือแม้ใช้ช้างในยามออกศึกสงคราม

ความเชื่อเรื่องช้างเผือก

และที่สำคัญมากในสังคมไทยคือ ช้างเป็นสัญลักษณ์แห่งอำนาจและบารมีของพระมหากษัตริย์ ซึ่งช้างที่มีความสำคัญถือว่าเป็นช้างมงคลที่ถือกำเนิดมาเพื่อคู่บารมีของ องค์พระมหากษัตริย์ คือ ช้างเผือก

ความเชื่อเกี่ยวกับ ช้างเผือก คติความเชื่อ เกี่ยวกับ ช้างเผือก หรือช้างมงคลนั่นได้ปรากฏกล่าวถึงทั้งใน ศาสนาพราหมณ์-ฮินดูและในพระพุทธศาสนา โดย คติความเชื่อ เกี่ยวกับช้างเผือกนั่นมีต้นกำเนิดมาจากความเชื่อในศาสนา พราหมณ์-ฮินดูเกี่ยวกับช้างเอราวัณซึ่งเป็นพาหนะของพระอินทร์ ได้กล่าวถึงในการสร้างโลกว่า พระวิษณุ (พระนารายณ์) ขณะที่บรรทมอยู่ในเกษียรสมุทรทรงแสดงเวทฤทธิ์อธิษฐานให้มีดอกบัวผุดขึ้นจาก พระนาภี 1 ดอก ดอกบัวนี้มีกลีบ 4 กลีบ และมีเกสร 173 เกสร ทรงนำดอกบัวนี้ไปถวายแก่พระศิวะ ซึ่งพระศิวะทรงแบ่งดอกบัวและเกสรนั้นออกเป็น 4 ส่วน ให้กับพระวิษณุ พระพรหม และพระอัคนี จากจำนวนกลีบบัวและเกสรบัวนี้ก็ทรงสร้างช้างมงคลขึ้นองค์ละตระกูล จึงมีช้างมงคลทั้งหมด 4 ตระกูล ตามพระนามแห่งองค์เทพผู้สร้างซึ่งช้างมงคลทั้ง 4 ตระกูลนี้ก็มีลักษณะสีผิวและรายละเอียดแตกต่างกันดังปรากฏในตำราคชลักษณ์ ได้แก่

อิศวรพงศ์ หมายถึง ช้างมงคลตระกูลที่พระอิศวรเนรมิตขึ้น จะมีผิวกายสีดำสนิท งาอวบงอนเสมอกันทั้งสองข้าง เท้าใหญ่ น้ำเต้ากลม ขณะเยื้องย่างอกใหญ่ หน้าเชิด แยกย่อยเป็น 8 หมู่ จัดเป็นช้างวรรณะกษัตริย์

พรหมพงศ์ หมายถึง ช้างมงคลตระกูลที่พระพรหมเนรมิตขึ้น มักจะมีเนื้อหนังที่อ่อนนุ่ม หน้าใหญ่ ท้ายต่ำ ขนอ่อนละเอียดเส้นเรียบขึ้นขุมละ 2 เส้น สีขาว โขมดสูง คิ้วสูง น้ำเต้าแฝด มีกระเต็มตัว ขนที่หลังหู ปาก และขอบตามีสีขาว อกใหญ่ งาสีเหลือง แยกย่อยเป็น 10 หมู่ จัดเป็นช้างวรรณะพราหมณ์

วิษณุพงศ์ หมายถึง ช้างมงคลตระกูลที่พระวิษณุเนรมิตขึ้น มีลักษณะผิวหนา ขนหนาเกรียนสีทองแดง อก คอ และคางใหญ่ หางยาว งวงยาว หน้าใหญ่ นัยน์ตาขุ่น หลังราบ แยกย่อยเป็น 6 หมู่ จัดเป็นช้างวรรณะแพศย์

อัคนีพงศ์ หมายถึง ช้างมงคลตระกูลที่พระอัคนีเนรมิตขึ้น มีลักษณะอกใหญ่ งาทั้งสองโค้งจรดกัน มีสีเหลืองจนขาวปนแดง สีกายคล้ายสีใบตองตากแห้ง แยกย่อยเป็น 42 หมู่ จัดเป็นข้างวรรณะศูทร

สำหรับ ช้างเผือก นั่น เป็นช้างที่บังเกิดจากเทวฤทธิ์ของพระอัคนี นอกจากนี้พระศิวะยังทรงบันดาลให้เกิดเทวบุตรที่มีพระพักตร์เป็นช้าง 2 องค์ คือ พระพิฆเณศวร และ พระโกญจนาเนศวรศิวบุตร โดยจากพระหัตถ์ซ้ายและขวาของพระโกญจนาเนศวรศิวบุตรได้บังเกิดช้างเผือกด้าน ละ 3 ช้าง

** เป็น ช้างเผือก เอก ช้างเผือกโท และ ช้างเผือกตรี โดยที่ช้างเผือกพัง (เพศเมีย) เกิดทางพระหัตถ์ซ้าย และช้างเผือกพลาย (เพศผู้) เกิดทางพระหัตถ์ขวา ซึ่งกล่าวว่าได้ประทานช้างเผือกไว้สำหรับเป็นพาหนะแห่งพระมหากษัตริย์โดยจะ ก่อให้เกิดบุญญาภินิหารแก่แผ่นดิน ส่วน คติความเชื่อ ในพระ พุทธศาสนานั่นได้ปรากฏเกี่ยวกับช้างเผือกอยู่ชาดกเรื่องพระเวสสันดรที่กล่าว ถึงว่า กษัตริย์พระองค์ใดได้ช้างเผือกมาสู่พระราชอำนาจ อาณาจักรนั้นจะมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติและพืชพันธุ์ธัญญาหาร เช่น กรุงสีพีของพระเวสสันดรที่ทรงได้ช้างเผือกเอกพระยาปัจจัยนาเคนทร์มาทำให้ บ้านเมืองอุดมสมบูรณ์ และเมื่อได้พระราชทานให้แก่แคว้นกลิงคราษฎร์ที่ประสบปัญหาข้าวยากหมากแพงไป เพื่อบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาลบรรเทาความเดือนร้อน เป็นต้น ซึ่งอิทธิพลความเชื่อจากชาดกเรื่องพระเวสสันดรนี้ได้ทำให้ช้างเผือกสีขาว เป็นที่ปรารถนาได้มีไว้ในแผ่นดินหรืออาณาจักรต่าง ๆ ดังได้ปรากฏในประวัติศาสตร์ของชาติไทยทุกยุคทุกสมัยที่ว่า พระมหากษัตริย์ไทยจะมีช้างเผือกไว้คู่พระบารมี

คุณลักษณะมงคล 13 ประการ ของ ช้างเผือก ได้แก่

  1. มีรูปร่างงาม
  2. งาขวา และงาซ้ายเรียวงานจากโคนถึงปลาย
  3. ผิวกายสีดอกบัวแดง
  4. มีขนตัวที่งอกออกจากขุมขน ๆ ละ 2 เส้น
  5. ขนโขมด (โหนกบนศรีษะ) มีสีน้ำผึ้งใส
  6. ขนบรรทัด (หลัง) เป็นสีขี้ผึ้งใสเจือแดง
  7. ขนในช่องหูเป็นสีขาว
  8. ขนหางเป็นสีน้ำผึ้งปนสีแดงแก่
  9. ตาสีขาวเจือเหลือง
  10. เพดานในปากสีขาวเจือสีชมพู
  11. อัณฑโกศ (อวัยวะเพศ) มีสีขาวเจือสีชมพู
  12. เล็บเป็นสีขาวเจือสีเหลืองอ่อน
  13. ระบายหูและหางงาม

ที่มาจาก : region1.prd.go.th

ขอบคุณภาพจาก www.prcmu.cmu.ac.th

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Copyright © 2016 MThai.com All rights reserved. หมายเลขทะเบียนการค้าอิเล็กทรอนิกส์ : 0127114707040