ประวัติวันเข้าพรรษา วันเข้าพรรษา

14 กรกฎาคม 2565 วันเข้าพรรษา พุทธศาสนิกชนถือเป็นโอกาสดีทำบุญ รักษาศีล

Home / ข่าว / 14 กรกฎาคม 2565 วันเข้าพรรษา พุทธศาสนิกชนถือเป็นโอกาสดีทำบุญ รักษาศีล

วันเข้าพรรษา ประวัติวันเข้าพรรษา

14 กรกฎาคม 2565 วันเข้าพรรษา พุทธศาสนิกชนถือเป็นโอกาสดีทำบุญ รักษาศีล

 

ในวันพฤหัสบดี ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 นี้ เป็นวันเข้าพรรษา ซึ่งอยู่ต่อจากวันอาสาฬหบูชา ถือเป็นสิ่งที่ดีที่เดือนกรกฏาคมนี้ มีวันสำคัญทางพุทธศาสนาเราถึง 2 วัน วันนี้จึงนำเกร็ดความรู้ และสิ่งดีๆ มาบอกเล่าถึงความหมายของ “วันเข้าพรรษา” ว่าเกี่ยวข้องและสำคัญอย่างไรต่อพระสงฆ์ในศาสนาพุทธของเรากัน

 

วันเข้าพรรษา ซึ่งเป็นวันที่บ่งบอกถึงฤดูฝน ตามพระพุทธบัญญัติว่า เมื่อถึงวันเข้าพรรษาพระสงฆ์ต้องเข้าจำพรรษา ในสถานที่ใดสถานที่หนึ่งที่ทรงอนุญาตให้เข้าอาศัยอยู่ได้ โดยไม่ผิดกฎที่พระพุทธเจ้าทรงห้ามมิให้อยู่จำพรรษาในสถานที่อันไม่สมควร เช่น ในโลงผี ในที่กลางแจ้ง ในกลด หรือแม้กระทั่ง ในตุ่ม ดังนั้น พระสงฆ์ต้องประพฤติปฎิบัติตามกิจของสงฆ์ คือก่อนที่ถึงวันเข้าพรรษา พระสงฆ์ ควรทำความสะอาดตามเสนาสนะสำหรับอยู่จำพรรษา รวมถึง พระอุโบสถ และอื่นๆ

 

โดยพระสงฆ์จะต้องประกอบพิธีอธิษฐานพรรษา คือการตั้งอธิษฐานใจของตนเองว่าตลอดฤดูกาลเข้าพรรษานี้ จะไม่ไปไหน ด้วยการเปล่งวาจาว่า “ข้าพเจ้าจะอยู่จำพรรษาในที่อาวาสนี้ตลอด ๓ เดือน” เริ่มตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำเดือน ๘ (ประมาณเดือนกรกฎาคม) ไปจนถึง วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ (ประมาณเดือนตุลาคม) หลังจากเสร็จพิธีแล้ว พระสงฆ์ก็จะนำดอกไม้ ธูปเทียนไปขอขมาพระอุปัชฌาย์อาจารย์ และพระเถระผู้ที่ตนเองนับถือ

14 กรกฎาคม 2565 วันเข้าพรรษา พุทธศาสนิกชนถือเป็นโอกาสดีทำบุญ รักษาศีล

กิจวัตรของพระภิกษุในช่วงวันเข้าพรรษา

ในช่วงเข้าพรรษา กิจวัตรของพระภิกษุจะคล้ายกับวันออกพรรษา เพียงแต่พระภิกษุสงฆ์จะต้องไม่ออกไปนอกพื้นที่ พระภิกษุสงฆ์ที่มีพรรษามากกว่า จะทำหน้าที่เป็นครูบาอาจารย์ ใครถนัดด้านวิชาใด ก็สั่งสอนเผยแพร่แก่พระภิกษุสงฆ์ที่พรรษาน้อยกว่า ช่วงวันเข้าพรรษานี้จึงจะทำให้พระภิกษุสงฆ์มีโอกาสได้ศึกษาพระไตรปิฏกมากยิ่งขึ้น

 

ประเพณีที่นิยมในวันเข้าพรรษา

ประเพณีการหล่อเทียนพรรษา (วันเข้าพรรษา) นัดว่าเป็นประเพณีที่ปฏิบัติทำกันมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล มูลเหตุที่ต้องมีการหล่อเทียนเข้าพรรษานั้นเนื่องมาจากในฤดูฝน หรือเรียกว่า “ฤดูการเข้าพรรษา” พระสงฆ์ต้องจำพรรษาสวดมนต์ทำวัตรทุกเช้าค่ำ ซึ่งมีความจำเป็นที่ต้องใช้เทียนไว้สำหรับ จุดบูชาให้ตลอดพรรษา พุทธศาสนิกชนจึงพร้อมใจกันหล่อพรรษา เพื่อนำไปถวายแก่พระสงฆ์ไว้จุดบูชา ทำกิจของสงฆ์ตลอด ๓ เดือน จึงเรียกเทียนที่หล่อขึ้นมานี้ว่า “เทียนพรรษา” หรือ “เทียนจำนำพรรษา”

14 กรกฎาคม 2565 วันเข้าพรรษา พุทธศาสนิกชนถือเป็นโอกาสดีทำบุญ รักษาศีล

อานิสงฆ์การถวายเทียนพรรษา

  • ทำให้เกิดสติ ปัญา ทั้งชาตินี้และชาติหน้า เปรียบดั่งแสงสว่างแห่งเทียน
  • ทำให้เจริญไปด้วยมิตรสหายบริวาร
  • ย่อมเป็นที่รักใคร่ของมนุษย์ และเทวดาทั้งหลาย
  • ทำให้คลี่คลายเรื่องราวปัญหาต่างๆ จากร้ายกลายเป็นดี

ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

ผ้าจำนำพรรษา คือ ผ้าที่ทายกถวายแก่พระสงฆ์ ผู้อยู่จำพรรษาครบแล้วในวัดนั้น ที่นั้น ภายในเขตจีวรกาล เรียกอีกอย่างว่า “ผ้าวัสสาวาสิกสาฎิกา”
ผ้าอาบน้ำฝน คือ ผ้าที่สำหรับอธิษฐานไว้ใช้นุ่งอาบน้ำฝนตลอดเดือนแห่งฤดูฝน เรียกอีกอย่างว่า “ผ้าวัสสิกสาฏิกา”

 

คำถวายเทียนพรรษา

อิมัง ภันเต พุทธะปูชายะ วัสสะคะตัง
ปะทีปัง สังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต
อิมัง วัสสะคะตัง ปะทีปัง ปะฏิคัณหาตุ
อัมหากัญจะ มาตาปิตุอาทีนัญจะ เปตานัง
สัพเพสัญจะ เทวะตานัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ

คำแปล

ข้าแด่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ซึ่งเทียนประจำพรรษาเล่มนี้ เพื่อเป็นพุทธบูชา แด่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับ ซึ่งเทียนประจำพรรษาเล่มนี้ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายด้วย แก่มารดาบิดา ญาติสาโลหิต มิตรสหายที่ล่วงลับไปแล้ว ยังปรโลกด้วย กับเทพยดาทั้งหลายทั้งปวง สิ้นกาลนานเทอญ

คำถวายเทียนพรรษา

 

วันอาสาฬหบูชา

วันอาสาฬหบูชา หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ วันอาสาฬหบูชาเป็นวันที่พระพุทธเจ้าได้ทรงประกาศพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรก โดยการแสดงปฐมเทศนาโปรดพระปัญจวัคคีย์ ทั้ง ๕ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันจนพระอัญญาโกณฑัญญะได้บรรลุธรรมและขอบวชเป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา จึงถือว่าวันนี้เป็นวันแรกที่มีพระสงฆ์เกิดขึ้นครบองค์พระรัตนตรัย