กรวดน้ำ กรวดน้ำเปียก บทสวด บทสวดกรวดน้ำ อุทิศส่วนกุศลกรวดน้ำแห้ง

บทสวดกรวดน้ำ จำเป็นต้องเอานิ้วรองน้ำขณะกรวดน้ำจริงหรือไม่

Home / ดูดวง / บทสวดกรวดน้ำ จำเป็นต้องเอานิ้วรองน้ำขณะกรวดน้ำจริงหรือไม่

ต้นกำเนิดประเพณี บทสวดกรวดน้ำ เริ่มจากเมื่อครั้ง สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแนะให้ พระเจ้าพิมพิสาร ทรงหลั่งทักษิโณทก (กรวดน้ำ) หลังจากที่ทรงทำบุญเลี้ยงพระ เพื่อเป็นการอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้แก่พระญาติที่ล่วงลับไปแล้วของพระองค์ จนกลายเป็นประเพณีที่แพร่หลายมาจนทุกวันนี้

ปัจจุบันหลังจากทำบุญแล้ว ประเพณีที่พุทธศาสนิกชนชาวไทยนิยมทำ คือ การกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ด้วยการเตรียมรองน้ำสะอาดใส่ภาชนะสะอาด และหาภาชนะสะอาดสำหรับรองน้ำที่กรวดเตรียมไว้ให้พร้อม เมื่อพระภิกษุเริ่มต้นบทอนุโมทนาว่า “ยะถาวาริวะหาปุรา… ” ก็ให้เริ่มกรวดน้ำลงในภาชนะที่เตรียมมาจนหมด โดยในขณะนั้นให้ตั้งจิตระลึกบุพการี ผู้มีคุณ เทวดาประจำตัว เจ้ากรรมนายเวร และหรือผู้ที่ล่วงลับ เมื่อพระท่านสวดจบแล้วจึงนำไปน้ำที่กรวดไปเทลงดินหรือโคนต้นไม้

บทสวดกรวดน้ำ

 

การกรวดน้ำมี 2 วิธี
– กรวดน้ำเปียก : ใช้น้ำสะอาด ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น เป็นสื่อ รินน้ำพร้อมตั้งจิตอุทิศส่วนกุศลแด่ญาติผู้ล่วงลับ
– กรวดน้ำแห้ง : ตั้งจิต ประนมมืออธิษฐาน อุทิศส่วนกุศลแด่ญาติผู้ล่วงลับ โดยไม่ต้องใช้น้ำ

กรวดน้ำ จำเป็นต้องเอานิ้วไปรอง หรือ แตะตัวกันเป็นทอดๆ ไหม ?
เนื่องจากน้ำที่ใช้ในการกรวดน้ำ ควรเป็นน้ำสะอาดบริสุทธิ์ การเอานิ้วไปรอง นอกจากจะทำให้น้ำมีการปนเปื้อนแล้ว ยังทำให้น้ำขาดสาย การกรวดน้ำที่ถูกวิธี คือ เทรินน้ำไม่ให้ขาดสาย ไม่ควรเอานิ้วไปรอง และเทเพียงคนเดียวหรือคู่เดียวก็เพียงพอ ไม่ต้องแตะตัวกัน ส่วนคนอื่นๆ ที่เหลือ ก็พนมมือตั้งจิตอธิษฐานไป

บทสวดกรวดน้ำ

อิทัง เม ญาตินัง โหตุ สุขิตาโหตุ ญาตโย

ขอส่วนบุญนี้ จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอให้ญาติทั้งหลายจงมีความสุขกายสุขใจเถิด

 

บทกรวดน้ำให้เจ้ากรรมนายเวร
ข้าพเจ้าขออุทิศบุญกุศลจากการเจริญภาวนานี้ให้แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายของข้าพเจ้า ที่ข้าพเจ้าได้เคยล่วงเกินท่านไว้ ตั้งแต่อดีตชาติจนถึงปัจจุบันชาติ ท่านจะอยู่ภพใดหรือภูมิใดก็ตาม ขอให้ท่านได้รับผลบุญนี้ แล้วโปรดอโหสิกรรม และอนุโมทนายบุญแก่ข้าพเจ้าด้วยอำนาจบุญนี้ด้วยเทอญ